*ตัวโรมัน = a b c d e f g …
วันดีคืนดีชาวต่างชาติอยากมาเมืองไทย แต่จะมาเพราะอะไรนี่ก็ไม่ขอยุ่ง ไม่ได้สู่รู้เบอร์นั้น อนุมานว่ามาจากแถบยุโรป อเมริกาอะไรเทือกนี้ก็น่าจะเครื่องลงที่สุวรรณภูมิ ปัญหาที่จะเจออย่างแรกเลยก็คือ ชื่อป้ายชื่ออะไรไม่ได้ออกเสียงเหมือนที่ตัวโรมันเขียนไว้ เรื่องของเรื่องคือป้ายชื่อในไทยจะใช้ระบบ Royal Thai General System of Transcription ของ ราชบัณฑิตยสถาน แล้วปัญหาหลักๆ เลยก็คือมันไม่ได้สื่อว่าจริงๆ แล้วคำมันควรออกเสียงยังไง เช่น:
Thai | Romanization | Romanization System | Pronunciation | Source |
---|---|---|---|---|
เทเวศ | The-wet | RTGS | Tae-wet | Pali-Sanskrit |
สุวรรณภูมิ | Suvarnabhumi | Devanagari transliteration | Su-wan*-na-poom *‘a’ as in father | Pali-Sanskrit |
ดินแดง | Din-daeng | RTGS | Din-daeng | Thai |
ศรีราชา | Sri Racha | Mixed:Sri - Devanagari transliterationRacha - RTGS | See-ra-cha | Pali-Sanskrit |
จะเห็นได้ว่าคำที่ต้นทางมาจากภาษาเดียวกันยังใช้คนละระบบในการถอดอักษรซะงั้น ที่เหนือกว่านั้นคือคำที่มาจาก บาลี-สันสกฤต นี่ก็ดันใช้ทั้งสองระบบถอดเสียงดื้อๆ โดยที่ไม่แคร์ว่าต่างชาติจะงงเบอร์ไหน
ย้อนอดีตนิดนึง
คำบาลี-สันสกฤตมีการนำมาใช้ในภาษาไทยเมื่อนานมาแล้ว ผ่านการเผยแพร่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในอุษาอาคเนย์
ตรงนี้เริ่มน่าเบื่อล่ะ แต่อ่านหน่อยก็ดี
คนบางกลุ่มพอใจที่จะใช้การถอดอักษรแบบราชบัณฑิตกับคำที่มาจาก บาลี-สันสกฤต แต่ต้องเน้นย้ำว่าการถอดอักษรแบบเทวนาครี สามารถแปลงกลับเป็นอักขระไทยได้แบบ 100% ในขณะที่การถอดอักษรแบบราชบัณฑิตจะไม่สามารถแปลงที่ถอดเป็นตัวโรมันกลับเป็นตัวไทยได้อย่างสมบูรณ์ ยกเว้นเสียแต่ว่ารู้กันอยู่แล้วว่ามันคือคำอะไร ก็เลยเขียนเป็นตัวไทยถูก
เพราะฉะนั้น มันเลยกลายเป็นว่าการถอดแบบราชบัณฑิตเป็นความพยายามที่จะเก็บรูปแบบการสะกดคำไทยเอาไว้ แต่มันไม่ได้สอดคล้องกับการออกเสียงของคำนั้นจริงๆ
สรุป
ไทยใช้ระบบราชบัณฑิตยสถานในการถอดอักขระเป็นโรมัน แต่ปัญหาคือมันไม่สามารถแปลงกลับเป็นตัวไทยได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าถอดอักษรคำที่มาจากบาลี-สันสกฤตโดยใช้ระบบเทวนาครีก็ติดประเด็นเดิมคือมันไม่ได้สอดคล้องกับการออกเสียงจริงๆ
ของแถม
จะลืมพูดถึงระบบการถอดอักษรอีกแบบไม่ได้ นั่นก็คือ: ฉันจะสะกดตามใจฉัน